วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาตจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  30  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลาเรียน  08.30-12.20

การเรียนในวันนี้
            
           วันนี้ให้นำเสนอสื่อกลุ่มของตนเอง

ชื่อสื่อ  เลขหรรษามหาสนุก




วิธีการเล่น

             ให้เด็กหยิบไม้หนีบที่ติดตัวเลขไว้ ไปหนีบให้ตรงกับจำนวนนับรูปสามเหลี่ยมให้ถูกต้อง

ผลที่ได้จากการทดลอง

             เด็กเล่นสื่อชิ้นนี้อย่างสนุกสนาน  เมื่่อเด็กเห็นสื่อเด็กสามารถเล่นได้ด้วยความเข้าใจของตนเอง  ไม่ต้องมีการอธิบาย 

ปัญหาที่พบ
_

สรุป

             เด็กชอบสื่อชิ้นนี้ และสื่อชิ้นนี้ให้ความรู้ในเรื่องของจำนวนนับ  เด็กได้ฝึกการนับจำนวน


สื่อที่ชอบ   ลูกคิดสายรุ้ง


             ชอบสื่อชิ้นนี้เพราะ  เด็กได้ฝึกการนับ ตัวสื่อมีสีสันที่หลากหลาย ชวนให้เด็กเล่น

สื่อมีทั้งหมด  20  กลุ่ม

1.  เกมโดมิโน
2.  ลูกคิดสายรุ้ง
3.  โยนแล้วนับลูกเต๋าน่ารัก
4.  บอกเลขนับจำนวน
5.  เรียงเลขพาเพลิน
6.  ฉันคืออะไร
7.  กล่องจับคู่กับตัวเลข
8.  นับหัวใจใส่ตัวเลข
9.  เกมนับจำนวนสัตว์
10.  เรขาคณิตมหาสนุก
11.  คณิตลองคิดดู
12.  เรียงลำดับรูปทรงและเรียงภาพตามรูปทรง
13.  เรขาคณิต
14.  นาฬิกาสัตว์
15.  รูปทรงมิติ
16.  สิงห์สาราสัตว์
17.  นับเสื้อผ้าของหนู
18.  บ้านหรรษา
19.  โดมิโน  เรขาคณิตและจำนวนนับ
20.  สัตว์น้อยชวนนับ

ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้

            สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปเป็นแนนวทางในการผลิตสื่อ เพื่อใช้ประกอบการสอน  และนำไปใช้ให้เหมาะสมกับวัย

 

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  23  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.


การเรียนในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนเป็นรายกลุ่มและบุคคล  โดยอาจารย์จะเน้นเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4  คน

ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้
          
          ได้ฝึกวิธีการเขียนแผนการสอน โดยมีอาจารย์คอยให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ  ในการเขียน 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  16  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30-12.20  น.

การเรียนในวันนี้

             กิจกรรมที่ 1

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ทำตัวหนอนหลากสี  โดยอาจารย์ได้นำผลงานของน้องๆ อนุบาล 3 มาให้ดู เป็นตัวอย่าง  โดยนำรูปทรงเรขาคณิตมาเรียงต่อกันเป็นรูปหนอนน้อย ซึ่งอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ทำผลงานชิ้นนี้ออกมา

     





                    การนำเสนอ



                    ผลงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

      
    



                กิจกรรมที่ 2

                อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น  3 กลุ่ม  โดยกิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับ สาระที่  5  
 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  สาระการเรียนรู้การเก็บรวบรวมข้อมูล  และการนำเสนอ อายุ 5 ปี  ให้เด็กมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย  โดยมีแบบตารางเปรียบเทียบ  แผนภูมิแท่ง  และวงกลมเปรียบเทียบ

วงกลมเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่างเครื่องบินและเรือ



ตารางจำแนกสัตว์น้ำและสัตว์บก



แผนภูมิแท่งสำรวจสีที่หนูชอบ


ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้

         จากการที่ได้ทำกิจกรรม 2 กิจกรรมนี้  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนและจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ได้อย่างถุกวิธี  โดยฟังจากคำแนะนำ และวิธีการสอนจากอาจารย์


วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  9  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30-12.20  น.

การเรียนในวันนี้

             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทาน  1 เรื่อง  และแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ออกไปจับสลาก  เพื่อที่จะวาดรูปตามเนื้อเรื่องนิทานและเขียนบรรยายไว้ใต้ภาพ ที่อาจารย์กำหนดไว้ให้

             นิทานเรื่อง  สามเกลอเจอแก๊ส
   
กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  และวงกลม  ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน  เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ขี้โมโห  เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง  และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้  วันหนึ่งเจ้าเพื่อนสามคนนี้ออกไปเที่ยวผับ  แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมรู้สึกหงุดหงิด  เพราะเสียงดัง  เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ส่วนเจ้าวงกลมกำลังจีบสาว  คนในผับกำลังเคาท์ดาวกันอยู่  อยู่ๆก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ  เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีด  เพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ  เจ้าวงกลมตะโกนให้เพื่อนปิดจมูก  เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา  แล้วทุกคนก็ทยอยออกไปจากผับ  และกลับบ้านอย่างปลอดภัย

            หน้าปก


                 
       กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  และวงกลม  ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน  เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ขี้โมโห  เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง  และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้



วันหนึ่งเจ้าเพื่อนสามคนนี้ออกไปเที่ยวผับ



         แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมรู้สึกหงุดหงิด  เพราะเสียงดัง  เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ส่วนเจ้าวงกลมกำลังจีบสาว  คนในผับกำลังเคาท์ดาวกันอยู่          




อยู่ๆก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ



 เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีด  เพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ



เจ้าวงกลมตะโกนให้เพื่อนปิดจมูก



เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา



แล้วทุกคนก็ทยอยออกไปจากผับ  และกลับบ้านอย่างปลอดภัย  (กลุ่มของดิฉันX



ความรู้และการนำไปใช้

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทาน  และช่วยกันวาดรูประบายสี  ตามเรื่องราวของนิทาน  สามารถนำความรู้ที่ได้นี้  ไปใช้เป็นแนวทางในการสอนในอนาคต




วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  12  ธันวาคม  2556
กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08:30-12:20  น.


การเรียนในวันนี้

      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่  2  การวัด
สาระที่  3  เรขาคณิต
สาระที่  4  พีชคณิต
สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิต

      คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.  มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
  • จำนวนนับ 1 ถึง  20
  • เข้าใจหลักการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรีบยเทียบ  เรียงลำดับ
  • การรวมและการแยกกลุ่ม
2.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
  • เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ  และวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.  มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

6.  มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

     
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
  • มาตรฐาน  ค.ป.  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      จำนวน
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก  คละตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
     

      การรวม  และการแยกกลุ่ม
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวม  ไม่เกิน  10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน  10


สาระที่  2  การวัด
  • มาตรฐาน  ค.ป.  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
      ความยาว  น้ำหนัก  และปริมาตร
  • การเปรียบเทียบ  /  การวัด  /  การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ  /  การชั่ง  /  การเรียงลำดับน้้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาตร  /  การตวง
     เงิน
  • ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญ  และธนบัตร
     เวลา
  • ช่วงเวลาในแต่ละวัน
  • ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
สาระที่  3  เรขาคณิต
  • มาตรฐาน  ค.ป.  3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
  • มาตรฐาน  ค.ป.  3.2  รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
     ตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
  • การบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทางของสิ่งต่างๆ
     รูปเรขาคณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิสองมิติ
  • ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมแาก  กรวย  ทรงกระบอก
  • รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
  • การเปลี่ยนแปลง  รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • การสร้างสรรค์  ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติ  และสองมิติ

สาระที่  4  พีชคณิต
  • มาตรฐาน  ค.ป.  4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      แบบรูปและความสัมพันธ์
  • แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง



สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • มาตรฐาน  ค.ป.  5.1  รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ
      การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
  • การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย


สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ   และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


กิจกรรมในวันนี้




ความรู้และการนำไปใช้
         
          นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  ไปใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไปและในอนาคต


วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  28  กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


การเรียนในวันนี้

  • นำเสนองานหน้าชั้นเรียน  5  กลุ่ม  ดังนี้
         1.  จำนวนและการดำเนินการ
         2.  การวัด
         3.  พีชคณิต
         4.  เรขาคณิต
         5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


1.  จำนวนและการดำเนินการ



       จำนวนและการดำเนินการ  คือ  ความคิดรวบยอดและความรู้เชิงจำนวน  ระบบจำนวนจริง  สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง  การดำเนินการของจำนวนจริง  อัตราส่วน  ร้อยละ  การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน  และการใช้จำนวนในชีวิตจริง



2.  การวัด


         
         การวัด  คือ  กรหารคำตอบเกี่ยวกับเวลา  ระยะทาง  น้ำหนัก  ด้วยการจับเวลา  การวัดระยะทาง  การชั่งน้ำหนัก  หรือการตวง  ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน  การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาลนั้นการวัดจะไม่มีหน่วย




3.  พีชคณิต



             พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย  คือ  รูปแบบและความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือสี  ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

 



4.  เรขาคณิต



             เรขาคณิต  หมายถึง  คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท  สมบัติ  และโครงสร้าง  ของเซต ของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์  ที่กำหนดให้รูปทรงต่างๆ   เช่น  เส้นตรง  วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  ระนาบ  รูปกรวย
                        





5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



          
           การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นคือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-  การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
-  มีส่วนร่วมในการให้และเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
           การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย  คือ  การเปรียบเทียบและการประมวลผลข้อมูล  หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล



ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้

          สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละหน่วย  นำความรู้ที่เพื่อนนำเสนอในแต่ละกลุ่ม  นำไปเป็นแนวทางในจัดการเรียนการสอน