วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  12  ธันวาคม  2556
กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08:30-12:20  น.


การเรียนในวันนี้

      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่  2  การวัด
สาระที่  3  เรขาคณิต
สาระที่  4  พีชคณิต
สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิต

      คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.  มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
  • จำนวนนับ 1 ถึง  20
  • เข้าใจหลักการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรีบยเทียบ  เรียงลำดับ
  • การรวมและการแยกกลุ่ม
2.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
  • เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ  และวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.  มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

6.  มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

     
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
  • มาตรฐาน  ค.ป.  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      จำนวน
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก  คละตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
     

      การรวม  และการแยกกลุ่ม
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวม  ไม่เกิน  10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน  10


สาระที่  2  การวัด
  • มาตรฐาน  ค.ป.  2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
      ความยาว  น้ำหนัก  และปริมาตร
  • การเปรียบเทียบ  /  การวัด  /  การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ  /  การชั่ง  /  การเรียงลำดับน้้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาตร  /  การตวง
     เงิน
  • ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญ  และธนบัตร
     เวลา
  • ช่วงเวลาในแต่ละวัน
  • ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
สาระที่  3  เรขาคณิต
  • มาตรฐาน  ค.ป.  3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
  • มาตรฐาน  ค.ป.  3.2  รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
     ตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
  • การบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทางของสิ่งต่างๆ
     รูปเรขาคณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิสองมิติ
  • ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมแาก  กรวย  ทรงกระบอก
  • รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
  • การเปลี่ยนแปลง  รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • การสร้างสรรค์  ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติ  และสองมิติ

สาระที่  4  พีชคณิต
  • มาตรฐาน  ค.ป.  4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      แบบรูปและความสัมพันธ์
  • แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง



สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • มาตรฐาน  ค.ป.  5.1  รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ
      การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
  • การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย


สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ   และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


กิจกรรมในวันนี้




ความรู้และการนำไปใช้
         
          นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  ไปใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไปและในอนาคต


วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  28  กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


การเรียนในวันนี้

  • นำเสนองานหน้าชั้นเรียน  5  กลุ่ม  ดังนี้
         1.  จำนวนและการดำเนินการ
         2.  การวัด
         3.  พีชคณิต
         4.  เรขาคณิต
         5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


1.  จำนวนและการดำเนินการ



       จำนวนและการดำเนินการ  คือ  ความคิดรวบยอดและความรู้เชิงจำนวน  ระบบจำนวนจริง  สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง  การดำเนินการของจำนวนจริง  อัตราส่วน  ร้อยละ  การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน  และการใช้จำนวนในชีวิตจริง



2.  การวัด


         
         การวัด  คือ  กรหารคำตอบเกี่ยวกับเวลา  ระยะทาง  น้ำหนัก  ด้วยการจับเวลา  การวัดระยะทาง  การชั่งน้ำหนัก  หรือการตวง  ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน  การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาลนั้นการวัดจะไม่มีหน่วย




3.  พีชคณิต



             พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย  คือ  รูปแบบและความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือสี  ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

 



4.  เรขาคณิต



             เรขาคณิต  หมายถึง  คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท  สมบัติ  และโครงสร้าง  ของเซต ของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์  ที่กำหนดให้รูปทรงต่างๆ   เช่น  เส้นตรง  วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  ระนาบ  รูปกรวย
                        





5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



          
           การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นคือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-  การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
-  มีส่วนร่วมในการให้และเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
           การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย  คือ  การเปรียบเทียบและการประมวลผลข้อมูล  หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล



ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้

          สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป  เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละหน่วย  นำความรู้ที่เพื่อนนำเสนอในแต่ละกลุ่ม  นำไปเป็นแนวทางในจัดการเรียนการสอน

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  21  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  1  กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30-12.20  น.


การเรียนในวันนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์
  • ให้เด็กพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การบวก  การลบ
  • ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด้กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การสังเกต
  • การจำแนกประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ
  • การวัด
  • การนับ
  • รูปทรงและขนาด

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ตัวเลข : น้อย มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
ขนาด  :  ใหญ่  คล้าย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
รูปร่าง :  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า  แถว
ที่ตั้ง    :  บน  คว่ำ  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
ค่าของเงิน  :  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท
ความเร็ว  :  เร็ว  ช้า  เดิน  คลาน
อุณหภูมิ  :  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


กิจกรรมในวันนี้


ความรู้และการนำไปใช้

          จากการเรียนในวันนี้ทำให้เราสามารถนำไปใช้สำหรับการสอนเด็กในอนาคตได้เป็นอย่างดี  เพราะกิจกรรมที่เราได้ทำในวันนี้  ทำให้เราได้ความรู้ทั้งจำนวนและศิลปะผสมผสานกันไป  และเราสามารถจัดกิจกรรมแบบนี้ให้กับเด็กปฏิบัติจริงได้อีกด้วย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน
วันที่  14  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  1  กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี  เช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

การเข้าเรียนในวันนี้
        
        ความหมายของคณิตศาสตร์  หมายถึง  ระบบการคิดของมนุษย์  ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆ  ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน  ตัวเลข  การคำนวณ  หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน  ตัวเลขการวัด เรขาคณิต  พีชคณิต  หรือรูปแบบความสัมพันธ์  การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผล  และความคิดสร้างสรรค์
        ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • เกี่่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
  • เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูลวางแฟนและประเมินผล
  • เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ  โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย  ตามแนวคิดของ Piaget

1.  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  แรกเกิด - 2 ปี
2.   ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล

        การอนุรักษ์
  • การนับ
  • การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  • การเปรียบเทียบรูปทรงประริมาตร
  • เรียงลำดับ
  • เรียงกลุ่ม
กิจกรรมในวันนี้



ความรู้และการนำไปใช้
        
        จากที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าได้  ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับหลักการต่างๆ  หรือกิจกรรมรวมการวาดรูปซึ่งจะทำให้เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน  และเราสามารถที่จะนำกระดาษสีต่างๆ  มาบูรณาการเป็นภาพติดปะ  ตามใจเด็กๆได้

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  7  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  1  กลุ่มเรียน  103  (วันพฤหัสบดี เช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

การเข้าเรียนในวันนี้

        อาจารย์แจก Course  Syllabus  ให้กับนักศึกษา และได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวการสอนของวิชานี้  ได้อธิบายถึงความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด  หลักการร  และทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์  และมีข้อตกลงของการเรียนวิชานี้

  • ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกคน
  • มาเรียนเกิน  15  นาที  ถือว่ามาสาย
  • ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า  80%  ของเวลาเรียนทั้งหมด
  • ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ
  • งานที่ได้รับมอบหมาย  ต้องส่งตามเวลาที่กำหนด
  • งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  • ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาครูปฐมวัยที่ดี


กิจกรรมในวันนี้
        อาจารย์ได้สั่งให้ทำ  mind  map  โดยให้ทำดกี่ยวกับความรู้ที่เราเคยเรียนมา  ในหัวข้อ :  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ภาพกิจกรรม


ความรู้และการนำไปใช้
  • ทำให้เราสามารถคิดทบทวนความรู้เดิมได้
  • สามารถนำความรู้เดิมที่เราเคยเรียมาประยุกต์ใช้ใหม่ได้